“แลมบ์ดาเทสต์” เปิดการประชุม “เทสต์มิว” ครั้งแรก

การประชุม Test? หรือเทสต์มิว ซึ่งจัดขึ้นทางออนไลน์ จะพาสำรวจเทรนด์เด่น ๆ ในแวดวงการทดสอบ และช่วยให้ผู้ทดสอบ/ผู้พัฒนาได้มีโอกาสส่องอนาคตของการทดสอบ

แลมบ์ดาเทสต์ (LambdaTest) แพลตฟอร์มทดสอบคุณภาพซอฟต์แวร์แบบต่อเนื่องในคลาวด์ระดับแนวหน้า ได้เปิดตัวการประชุมเทสต์มิว (Test?) ซึ่งจะจัดขึ้นเป็นครั้งแรกทางออนไลน์ให้เข้าร่วมได้ฟรีตลอด 3 วัน ระหว่างวันที่ 23-25 สิงหาคม 2565 โดยจะพาสำรวจเทรนด์สำคัญในอุตสาหกรรม และพาส่องอนาคตของการทดสอบ นอกจากนี้ ผู้เข้าร่วมการประชุมยังจะมีโอกาสเรียนรู้แนวทางขององค์กรชั้นนำในการคิดค้นนวัตกรรมใหม่ ๆ เพื่อความเป็นเลิศในการทดสอบด้วย

วิทยากรหลักประจำการประชุมเทสต์มิวประกอบด้วยผู้นำทางความคิดระดับแถวหน้ามากมาย ไม่ว่าจะเป็นมาเร็ต ไพฮายาร์วี (Maaret Pyhaejaervi) หัวหน้าวิทยากรทดสอบจากบริษัทไวซาลา (Vaisala), ริชาร์ด แบรดชอว์ (Richard Bradshaw) ซีอีโอของมินิสทรี ออฟ เทสติง (Ministry of Testing), ชัยธัญญะ โกลาร์ (Chaithanya Kolar) กรรมการผู้จัดการและผู้นำทีมวิศวกรรมคุณภาพ ดีลอยท์ สาขาสหรัฐ (Deloitte US), ประธีป โกวินดาซามี (Pradeep Govindasamy) ซีอีโอของควอลิซีล (Qualizeal), มานีช ชาร์มา (Maneesh Sharma) ซีโอโอของแลมบ์ดาเทสต์ และมาโนช คุมาร์ (Manoj Kumar) รองประธานฝ่ายนักพัฒนาสัมพันธ์ของแลมบ์ดาเทสต์ นอกจากนี้ แลมบ์ดาเทสต์ยังเตรียมเปิดเผยรายชื่อบุคคลชื่อดังระดับโลกอีกกว่า 20 ท่านที่จะมาร่วมเป็นวิทยากรในอีกไม่กี่วันนี้ด้วย

“ทุกคนต่างมองหาผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ เพราะการแข่งขันดุเดือดขึ้นและลูกค้าก็มีความต้องการมากขึ้น คุณภาพเป็นเรื่องที่มาคิดเอาทีหลังไม่ได้ และแน่นอนว่าจะมาเพิ่มทีหลังโดยไม่มีผลกระทบอะไรเกิดขึ้นเลยไม่ได้ สิ่งนี้หมายความว่าทั้งทีมจำเป็นต้องเข้ามามีส่วนร่วม และปัจจัยหนึ่งที่ช่วยได้ก็คือการทดสอบ ผู้พัฒนาและผู้ทดสอบจำเป็นต้องทดสอบตั้งแต่เนิ่น ๆ ซึ่งเราจะทำเช่นนั้นได้ก็ต่อเมื่อเราหมั่นเรียนรู้และเพิ่มทักษะอยู่เสมอ และเทสต์มิวก็จะเป็นโอกาสที่ดีในการทำเช่นนั้น” คุณริชาร์ด แบรดชอว์ ซีอีโอของมินิสทรี ออฟ เทสติง กล่าว “ผมรู้สึกตื่นเต้นในการเป็นวิทยากรหลักในการประชุมออนไลน์นี้ และหวังที่จะได้จุดประกายความคิดกับท่านอื่น ๆ”

การประชุมดังกล่าวจะเปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมได้เชื่อมโยงกับบรรดาผู้นำทางความคิดทั่วโลกผ่านเซสชัน เวิร์กช็อป และการติวเข้มกับผู้เชี่ยวชาญ ทั้งยังเปิดโอกาสให้ได้สร้างเครือข่ายกับเหล่านักทดสอบและนักพัฒนาจากกว่า 130 ประเทศ พร้อมโชว์ทักษะ และคว้ารางวัลอันน่าตื่นเต้นผ่านการแข่งขัน Test-a-thon และ Blog-a-thon

“การประชุมเทสต์มิวล้วนเป็นเรื่องของคุณและชุมชนที่เรารัก โดยเราได้เชิญชวนคนในวงการทั่วโลกมาร่วมแบ่งปันความรู้และแนวคิดในเรื่องต่าง ๆ ไม่ว่าจะในแง่เทคนิคของการทดสอบ ไปจนถึงแง่มุมที่ไม่ค่อยมีผู้พูดถึงมากนัก เช่น วัฒนธรรม” คุณมาโนช คุมาร์ รองประธานฝ่ายนักพัฒนาสัมพันธ์ของแลมบ์ดาเทสต์ กล่าว “เรามีเป้าหมายเพื่อสร้างแพลตฟอร์มให้ชุมชนได้เรียนรู้จากกันและกัน และค้นพบความเป็นไปได้ใหม่ ๆ เราอดใจรอไม่ไหวที่จะได้เห็นคุณในการประชุมออนไลน์นี้ พร้อมปลดล็อกอนาคตของการทดสอบคุณภาพไปด้วยกัน”

เมื่อไม่นานมานี้ แลมบ์ดาเทสต์ระดมทุนได้ 45 ล้านดอลลาร์ในรอบธุรกิจร่วมลงทุน นำโดยเพรมจิ อินเวสต์ (Premji Invest) พร้อมด้วยการมีส่วนร่วมจากนักลงทุนกลุ่มเดิมที่มีอยู่ บริษัทยังได้เปิดตัวไฮเปอร์เอ็กซีคิวท์ (HyperExecute) แพลตฟอร์มประสานการทดสอบอัจฉริยะรุ่นใหม่ ซึ่งช่วยให้ผู้ทดสอบและผู้พัฒนาดำเนินการทดสอบอัตโนมัติแบบครบวงจรได้อย่างรวดเร็วสูงสุดเท่าที่เป็นไปได้ รวมถึงแพลตฟอร์มการทดสอบอัจฉริยะและการสังเกตการณ์อย่างเทสต์ แอท สเกล (Test-at-Scale)

สำหรับผู้ที่สนใจเข้าร่วมการประชุมเทสต์มิว กรุณาลงทะเบียนที่นี่เพื่อเข้าร่วมงานฟรี https://www.lambdatest.com/testuconf-2022

เกี่ยวกับแลมบ์ดาเทสต์

แลมบ์ดาเทสต์ (LambdaTest) คือแพลตฟอร์มทดสอบคุณภาพซอฟต์แวร์แบบต่อเนื่องในคลาวด์ ที่ช่วยให้นักพัฒนาและนักทดสอบซอฟต์แวร์พัฒนาโค้ดได้รวดเร็วขึ้น ลูกค้ากว่า 7,000 รายและผู้ใช้หนึ่งล้านรายในกว่า 130 ประเทศพึ่งพาแลมบ์ดาเทสต์สำหรับความต้องการด้านการทดสอบซอฟต์แวร์

แพลตฟอร์มแลมบ์ด้าเทสต์ให้บริการการประสานการทดสอบที่มั่นคงปลอดภัย ขยายได้ และให้มุมมองเชิงลึกสำหรับลูกค้าที่อยู่ในจุดต่าง ๆ ของวงจร DevOps (CI/CD) ดังนี้

  • เบราว์เซอร์และการทดสอบแอป (Browser & App Testing) ระบบคลาวด์ ช่วยให้ผู้ใช้ดำเนินการทดสอบเว็บและแอปพลิเคชันมือถือได้ทั้งแบบไม่อัตโนมัติและแบบอัตโนมัติในเบราว์เซอร์ อุปกรณ์จริง และสภาพแวดล้อมระบบปฏิบัติการที่แตกต่างกันกว่า 3,000 รายการ
  • ไฮเปอร์เอ็กซีคิวท์ (HyperExecute) ช่วยลูกค้าดำเนินการทดสอบและประสานกริดการทดสอบในระบบคลาวด์สำหรับทุกแพลตฟอร์มและทุกภาษาโปรแกรม ด้วยความเร็วสูงเพื่อลดระยะเวลาทดสอบคุณภาพ ซึ่งช่วยให้นักพัฒนาสร้างซอฟต์แวร์ได้รวดเร็วขึ้น
  • เทสต์ แอท สเกล (Test at Scale หรือ TAS) ช่วยให้นักพัฒนามีการควบคุมคุณภาพการทดสอบถึงรายละเอียด ด้วยการได้ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับการดำเนินการทดสอบ การบริหารจัดการการทดสอบที่ไม่น่าเชื่อถือ และการลดระยะเวลาให้ฟีดแบ็ค ด้วยการดำเนินการทดสอบเฉพาะส่วนที่ได้รับผลกระทบ จึงช่วยให้ได้รับฟีดแบ็คเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงโค้ดได้รวดเร็วขึ้น เทสต์ แอท สเกลเป็นซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ส และรองรับหลายกรอบการทำงานการทดสอบซอฟต์แวร์

โลโก้: https://mma.prnewswire.com/media/1721228/Lambda_Test_Logo.jpg

ที่มา:  พีอาร์นิวส์ไวร์/อินโฟเควสท์